平成22年1月24日日曜日

คำช่วย を

เพิ่งรู้ว่าคำช่วย を มีการใช้ที่แสดงสาเหตุของความรู้สึกได้ด้วย

ตื่นเต้นอ่ะ ฮ่าๆๆๆๆ คาดว่าอันนี้แหละเป็นหนึ่งข้อที่เรางง

จากหนังสือ A dictionary of Basic Japanese Grammar เล่มเหลืองๆ


เขียนไว้ว่า คำช่วยを หน้าที่ที่4คือ

แสดงสาเหตุของความรู้สึก

เช่น
私は浩の大学入学を喜んだ。
ヨーロッパ人はまた戦争が起きることを恐れている。
信子は京都での一年をなつかしんだ。
林は英語ができないことを悩んでいる。

คำอธิบาย
1.เนื่องจากคำกริยาหลักในรูปประโยคหลักและตัวอย่างอันได้แก่ 悲しむ(เศร้า) 喜ぶ (ดีใจ ยินดี)  恐れる(กลัว)  なつかしむ(หวนคิดถึง)  悩む(ทุกข์ กังวล กลุ้มใจ) เป็นคำกริยาที่แสดงความในใจ ในภาษาญี่ปุ่นจึงไม่ถือว่าคำกริยาเหล่านี้เป็นสกรรมกริยา ดังนั้นคำช่วยをที่นำหน้าคำกริยาเหล่านี้ จึงไม่ถือว่าเป็นをที่แสดงกรรมตรง ซึ่งปกติจะใช้กับเหตุการณ์ทั่วๆไปที่สามารถมองเห็นได้จากภายนอก แต่をตัวนี้บอกสาเหตุที่มาของอารมณ์ความรู้สึกซึ่งเป็นคำกริยาหลัก ดังนั้นบางครั้งจึงสามารถใช้ のでเพราะว่า แทนในประโยคเหล่านี้ได้ดังเช่น

次郎は父が死んだので悲しんだ。
私は浩が大学に入学したので喜んだ。


(อันนี้ไม่เกี่ยวกับคำช่วยแล้ว แต่ไหนๆก็พิมพ์แล้วเลยเอาลงซะหน่อย)

2.ไม่ว่าประธานของโครงสร้างนี้จะเป็นประธานบุรุษที่๑ บุรุษที่๒ หรือบุรุษที่๓ คำกริยาที่แสดงอารมณ์ความรู้สึกนี้ปกติจะอยู่ในรูปที่แสดงสภาพている・ていないหรือรูปอดีต
แต่ถ้าเป็นการกล่าวถึงความจริงทั่วไป คำกริยาเหล่านี้สามารถอยู่ในรูปที่ไม่แสดงสภาพ หรือรูปที่ไม่ใช่อดีต
เช่น

だれでも親の死を悲しむ。 
เป็นใครก็เศร้าที่พ่อแม่ตายทั้งนั้น

3.ถ้าเป็นคำกริยาที่แสดงอารมณ์ความรู้สึกที่มาจาก Adj.いstem +む ซึ่งเป็น Suffix
เช่น 悲しむ(เศร้า) なつかしむ(หวนคิดถึง) おしむ(เสียดาย) 楽しむ(สนุก เพลิดเพลิน)
สามารถเติมคำต่อท้าย~がる (ทำท่า แสดงอาการ) แทน ~むได้ดังนี้
悲しがる、なつがしがる、おしがる、楽しがる
เช่น

次郎は父の死を悲しがった。
จิโร่มีอาการโศกเศร้ากับการตายของบิดา

เป็นสำนวนที่บรรยายอาการตามที่เห็นมากกว่าแบบอื่นๆ เพราะคำกริยานุเคราะห์ ~がる (ทำท่า แสดงอาการ) นั้นหมายถึง การแสดงออกทางภายนอก




ปลื้มอ่ะ เข้าใจไปอีกนิดแล้ว ดีใจจัง

0 件のコメント:

コメントを投稿