平成22年3月1日月曜日

ในที่สุดก็เข้าใจแล้ว เย่!


จุดอ่อนจุดที่1

ก่อนหน้าที่จะหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็งงมาตลอดเกี่ยวกับการใช้にกับを แยกการใช้ไม่ค่อยออกระหว่าง2ตั้วนี้ โดยเฉพาะ เมื่อคำกริยานั้นๆมีความหมายว่า ชี้ มุ่งหมายว่า ตั้งเป้าหมายว่า ก็จะโมเมคิดไปเองว่าจะต้องใช้กับคำช่วยにแต่พอได้มานั่งคิดดูดีๆแล้ว การที่จะใช้คำช่วยにกับการมุ่งไปที่เป้าหมายนั้นจะต้องมีการเคลื่อนที่เข้ามาเกี่ยวด้วย เป็นการชี้จุดหมายปลายทางของการเคลื่อนที่ ไม่ใช่ว่าชี้ไปที่เป้าหมายแล้วจะใช้に ดังนั้นคำที่มีความหมายเหล่านั้นจะต้องใช้กับをเช่นเดียวกันกับคำที่มีความหมาย เน้น ให้ความสำคัญ ก็จะไม่ใช้กับคำช่วยにเพราะไม่มีการเคลื่อนที่เข้ามาเกี่ยวข้องนั่นเอง


จุดอ่อนจุดที่2

ติดการใช้คำช่วยกับกริยาบางคำแบบผิดๆไปซะแล้ว อย่าง受けるติดเป็นนิสัยที่ชอบใช้กับにซึ่งมันผิด ก็จะพยายามแก้ไขต่อไป


จุดอ่อนจุดที่3

บางทีที่รู้สึกสับสนการใช้เพราะ ไม่ทันได้คิดเรื่องกรรมตรง กรรมรอง ทั้งๆที่จริงๆแล้วกรรมตรง กรรมรอง มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้สูงมาก อย่างคำว่า気をつける ผิดบ่อยมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ชอบสับสนว่าระวังเรื่องอะไรเราควรจะใช้คำช่วยตัวไหนชี้ดู แต่คิดไปคิดมา มันมีをแล้วมันก็ไม่น่าจะมีをซ้ำอีกตัวสิ สงสัยต้องใช้คำช่วยに แต่พอคิดๆดูอีกที ถ้ามองว่ามันเป็นกรรมตรงกรรมรองคงจะถูกต้องมากกว่า โดยเรื่องที่เราระวังจะเป็นกรรมรอง และ気จะเป็นกรรมตรง เมื่อเข้าใจเช่นนี้ก็ไม่น่าจะใช้คำประเภทนี้ผิดแล้ว ดีใจมากค่ะ TT v TT
อีกคำหนึ่งคือ決めるจริงๆแล้วมีการใช้กับทั้งคำช่วยにและを โดยจากการคุยเสวนากับอาจารย์ชาวญี่ปุ่นท่านหนึ่งก็ได้เข้าใจว่า ถ้าเป็นการตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งจะใช้ にแต่ถ้าเป็นการตัดสินใจเลือกคนจะใช้を ในกรณีนี้จากหนังสือคำช่วยช่วยด้วย(บทความจากหนังสือเรียนที่2) ถึงจะบอกว่าเป็นการชี้ผลจากการเปลี่ยนแปลง หรือการตัดสินใจ แต่ข้าพเจ้าคิดว่านี่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับกรรมตรงกรรมรองด้วย


จุดอ่อนจุดที่4

ลืมคิดไปว่ากริยาคำนั้นเป็นอกรรมกริยา หรือเป็นสกรรมกริยา ในกรณีที่คำๆนั้นเป็นอกรรมกริยา แน่นอนว่าจะไม่มีการใช้คำช่วยをด้วย ก็จะตัดความงุงงงออกไปได้ส่วนหนึ่ง ถ้าคำนึงถึงเรื่องนี้ด้วยอาจจะทำให้ลดความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นได้ก็เป็นได้

0 件のコメント:

コメントを投稿