平成21年12月28日月曜日

「は」 と 「が」

การใช้「は」
  • เมื่อเป็นเรื่องที่เราตัดสินแล้วว่าเป็นเรื่องธรรมดา เป็นเรื่องทั่วไปที่เหมือนกันหมด เช่น

消防車はみな赤い。

東京の新宿や六本木は真夜中でもにぎやかですよ。

  • เมื่อเป็นความจริง เป็นเรื่องจริง เช่น
木下さんのお父さんは高校の英語の先生です。

サルは人間に一番近い動物だ。

การใช้「が」

  • เมื่อเป็นเรื่อง ณ ตอนนั้น ไม่ได้เป็นแบบนั้นเสมอ
เมื่อกล่าวประโยคแสดงอาการ ตกใจ!เช่น

「あっ、山の上の方が真っ白だ。」

「あっ、ほんとだ。初雪が降ったんだな。」


ในกรณีที่มีประโยคซ้อนกัน

ประโยคหลักจะใช้คำช่วย は

ประโยครองจะใช้คำช่วย が โดยเฉพาะเวลาบอกว่า ตอนที่。。。จะใช้ が

A  が ・・・・・・・・・ 時、B は

เช่น 私は先生から電話がかかってきた時まだ寝ていた



(ต่อจากอันนี้ยังงงอยู่ จะไปอ่านก่อน เดี๋ยวจะมาอัพต่อนะคะ)

平成21年12月7日月曜日

Jap 会話 (2)

เรียนวิชา会話เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา
ได้เข้าใจวิธีการพูดของคนญี่ปุ่นมากขึ้น

คำลงท้ายประโยค
  • การใช้ 「~の」
เหมือนที่อาจารย์กนกวรรณเคยสอนแล้วในวิชาภาษาศาสตร์
ในวิชา会話ก็ได้เรียนเรื่องนี้ซ้ำอีกที

「~の」จะใช้เมื่อเป็นเรื่องที่เราต้องการจะบอกคนที่เราคุยด้วย
ว่าเรื่องมันเกิดแบบนี้นะ แล้วอย่างงี้อย่างนั้นนะ ซึ่งจะต่างกับ
การใช้「~よ」ลงท้ายประโยค ที่จะใช้เมื่อเราคิดว่าอีกฝ่ายไม่รู้
หรือเรามีความคิดที่ต่างจากคนที่เราาคุยด้วย

เช่น きのう文学部でころんでしまったの。

  • 「~たんだよ」
ดูหน้าตาคล้ายๆกับ「~よ」แต่จริงๆแล้วสองตัวนี้มีวิธีใช้ที่ต่างกัน
โดย 。。。。

~たんだよ จะใช้เมื่อเราแสดงความรู้สึกที่มีต่อเรื่องของคนอื่น
เรื่องที่เราได้ยิน ได้รู้มา ไม่ได้เป็นเรื่องที่ประสบโดยตรง

เช่น  びっくりしたんだよ。
>>แสดงว่าไปได้ยินอะไรมาแล้วตกใจ

~よ จะใช้เมื่อเราแสดงความรู้สึกที่เรามีต่อสถานการณ์ที่เราเจอเอง
โดยตรง

เช่น  びっくりしたのよ。
>>แสดงว่าเราถูกทำให้ตกใจโดยตรง

。。。。。。。。。。。。。。。。。。。。。。。。。。

คำศัพท์

คำศัพท์เพื่อนๆที่ห้องและตัวเราเองใช้ผิดบ่อยมากคือ

  • 「叱る」
ถ้าแปลตรงๆ จะแปลว่า ดุ ว่า

แต่จริงๆแล้ววิธีการใช้คำนี้ไม่ได้สามารถใช้ได้กับทุกคน
จะใช้ได้กับเฉพาะคนที่สูงกว่าดุคนที่ต่ำกว่า
จะไม่สามารถใช้ในกรณีรุ่นเดียวกันเองดุได้

เช่น      母に叱られた。

จะไม่ใช้   友達に叱られた。

แต่จะใช้ว่า 友達にしめられた。

  • 「あなた」
วิธีการใช้คำนี้ก็เช่นกัน ที่ไม่สามารถใช้เป็สรรพนามแทนทุกคนได้
จะใช้ในกรณีที่ดุลูกน้อง ว่าคนที่ต่ำกว่าเราเท่านั้น
ถ้าเอาไปใช้กับเพื่อน หรือคนที่สูงกว่าจะถือว่าเสียมารยาทอย่างมากๆๆๆ


。。。。。。。。。。。。。。。。。。。。。。。。。。。



การให้ความสำคัญกับฐานะคนในสังคมญี่ปุ่นสามารถถ่ายทอด
ผ่านวิธีการใช้คำศัพท์ต่างๆออกมาได้อย่างเด่นชัด
นับว่าเป็นภาษาที่ลึกซึ้งภาษาหนึ่งที่เรายังคงต้องศึกษากันต่อไป




カウィ・ギフト


平成21年12月3日木曜日

สังเกตการเรียนการสอนครั้งที่2

วันนี้เข้าไปดูในห้องที่อาจารย์คนไทยสอนบ้าง

หัวข้อคือ ~んですが、どうしたらいいですか。

  • อาจารย์ใช้วิธียกตัวอย่างขึ้นมาก่อนที่จะนำเข้าสู่ตัวเนื้อหาจริงๆ
เช่น

A: 新聞社に見学したいんですが、どうしたらいいですか。
B: 直接電話で申し込んだらいいですよ。
A: そうですか。どうも。

แล้วค่อยอธิบายความหมายและวิธีการใช้

  • มีการอธิบายความหมายของคำศัพท์ในหนังสือโดยยก例文ประกอบเพิ่มด้วย
  • นักเรียนค่อนข้างงงการเปลี่ยนรูปいただけませんかให้ต่อกับ~んですが、~
  • ก่อนจบคาบอาจารย์ก็ทวนเรื่องที่เรียนทั้งชั่วโมงเช็คความเข้่าใจ

ตอนที่นั่งฟังอยู่ก็เกิดข้อสงสัยขึ้นมาว่า
เวลาสอน文法เราควรจะสอนลึกไปแค่ไหน
ถึงจะทำให้นักเรียนไม่งง หรือไม่ควรจะพูดถึงเลย
รอให้ถึงเวลาที่จำเป็นต้องรู้ก่อน?

อย่างในกรณี~んですが、~
ควรจะสอนด้วยรึป่าวว่ามาจากคำว่า ~のですが、
แล้วพวก~のです คืออะไร ใช้ในบริบทไหนบ้าง

หรืออย่างกรณีที่ยกตัวอย่างประโยคของคำว่า並べる
ว่า一列タバコをならべる。
ต้องอธิบายรึป่าวว่าในประโยคนี้ทำไมถึงเป็นเป็นคำช่วยตัวอื่นไม่ได้
หรือถ้าเคยอธิบายแล้วจะต้องอธิบายทวนอีกทุกครั้งรึป่าว?





การสอนนี่ยากใช่เล่นนะเนี่ย!

ギフト・カウィ

平成21年12月2日水曜日

สังเกตการเรียนการสอนครั้งที่1

วันนี้เป็นวันแรกที่มีโอกาสเข้าห้องเรียนโดยไม่ใช่ในฐานะผู้เรียน

แต่เข้าไปในฐานะผู้สังเกตการเรียนการสอนในห้องเรียน

ตื่นเต้นมากค่ะ

。。。。。。。。。。。。。。。。。。。。。。。。。。。
หัวข้อที่เรียน คือ 形容詞

อาจารย์ก็ไล่ถามไปทีละคำว่าคำไหนแปลว่าอะไรบ้าง
นักเรียนส่วนใหญ่ก็รู้อยู่แล้วล่ะ ว่าแต่ละคำแปลว่าอะไร

แต่ประเด็นที่น่าสนใจคือ

นักเรียนชอบถามถึงข้อแตกต่างระหว่างคำที่มีความหมายคล้ายกัน

ถามเป็นครูคนไทยก็อาจจะไม่รู้ความแตกต่าง
แต่ถ้าเป็นครูญี่ปุ่นก็อาจจะเป็นเรื่องยากที่จะอธิบายความแตกต่างของคำ
ให้เด็กที่เพิ่งเริ่มเรียนภาษาญี่ปุ่นเข้าใจได้

ตัวอย่างที่พบในวันนี้ เช่น
  • ความแตกต่างระหว่างคำว่า 「たのしい」 กับ 「おもしろい」
  • ความแตกต่างระหว่างคำว่า 「かんたん」 กับ 「やさしい」
かんたんแปลว่า ง่าย
やさしい แปลว่า ง่าย、ใจดี

ดังนั้นถ้าเป็น かんたんなテスト やさしいテスト ก็จะแปลว่าข้อสอบง่ายทั้งคู่

แต่ถ้าเป็น かんたんな人 やさしい人ความหมายก็จะต่างกัน
かんたんな人 จะแปลว่า คนที่เชื่อคนง่าย
やさしい人 จะแปลว่า คนใจดี

(แล้วอย่างงี้ むずかしい人 จะเป็นคนยังไงกันนะ???)

  • ความแตกต่างระหว่างคำว่า 「にぎやか」 กับ 「うるさい」
ก็เป็นสองคำที่อาจารย์บอกว่าเป็นคำถามยอดฮิตมีนักเรียนถามกันทุกปี

。。。。。。。。。。。。。。。。。。。。。

เรื่องที่ได้เรียนรู้
  • ต้องรู้เรื่องที่สอนจริง
ถ้าเกิดตอบคำถามไม่ได้อย่ามั่ว
บอกติดเอาไว้ก่อนแล้วจะมาบอกคราวหน้า
(โดยเฉพาะเรื่องความแตกต่างในการใช้คำที่คล้ายกัน)
  • การแต่งประโยคตัวอย่าง
เอาสิ่งที่ผู้เรียนชอบมาแต่งเป็นประโยคตัวอย่าง
หรือให้ผู้เรียนแต่งประโยคเกี่ยวกับสิ่งนั้น
เช่น ผู้เรียนชอบบ่นเรื่องอาจารย์A
ก็อาจจะให้นักเรียนแต่งประโยคเกี่ยวกับอาจารย์ท่านนี้

เช่น A先生はきれいではありません。
   A先生はおもしろくないです。

ก็จะทำให้ผู้เรียนมีความสนใจที่จะแต่งประโยคหรือฟังเรามากขึ้น





พรุ่งนี้จะลองเข้าไปดูในแบบของอาจารย์ไทยสอนดูบ้าง

楽しみにしています。^ ^


ギフト・カウィ