平成22年1月24日日曜日

คำช่วย を

เพิ่งรู้ว่าคำช่วย を มีการใช้ที่แสดงสาเหตุของความรู้สึกได้ด้วย

ตื่นเต้นอ่ะ ฮ่าๆๆๆๆ คาดว่าอันนี้แหละเป็นหนึ่งข้อที่เรางง

จากหนังสือ A dictionary of Basic Japanese Grammar เล่มเหลืองๆ


เขียนไว้ว่า คำช่วยを หน้าที่ที่4คือ

แสดงสาเหตุของความรู้สึก

เช่น
私は浩の大学入学を喜んだ。
ヨーロッパ人はまた戦争が起きることを恐れている。
信子は京都での一年をなつかしんだ。
林は英語ができないことを悩んでいる。

คำอธิบาย
1.เนื่องจากคำกริยาหลักในรูปประโยคหลักและตัวอย่างอันได้แก่ 悲しむ(เศร้า) 喜ぶ (ดีใจ ยินดี)  恐れる(กลัว)  なつかしむ(หวนคิดถึง)  悩む(ทุกข์ กังวล กลุ้มใจ) เป็นคำกริยาที่แสดงความในใจ ในภาษาญี่ปุ่นจึงไม่ถือว่าคำกริยาเหล่านี้เป็นสกรรมกริยา ดังนั้นคำช่วยをที่นำหน้าคำกริยาเหล่านี้ จึงไม่ถือว่าเป็นをที่แสดงกรรมตรง ซึ่งปกติจะใช้กับเหตุการณ์ทั่วๆไปที่สามารถมองเห็นได้จากภายนอก แต่をตัวนี้บอกสาเหตุที่มาของอารมณ์ความรู้สึกซึ่งเป็นคำกริยาหลัก ดังนั้นบางครั้งจึงสามารถใช้ のでเพราะว่า แทนในประโยคเหล่านี้ได้ดังเช่น

次郎は父が死んだので悲しんだ。
私は浩が大学に入学したので喜んだ。


(อันนี้ไม่เกี่ยวกับคำช่วยแล้ว แต่ไหนๆก็พิมพ์แล้วเลยเอาลงซะหน่อย)

2.ไม่ว่าประธานของโครงสร้างนี้จะเป็นประธานบุรุษที่๑ บุรุษที่๒ หรือบุรุษที่๓ คำกริยาที่แสดงอารมณ์ความรู้สึกนี้ปกติจะอยู่ในรูปที่แสดงสภาพている・ていないหรือรูปอดีต
แต่ถ้าเป็นการกล่าวถึงความจริงทั่วไป คำกริยาเหล่านี้สามารถอยู่ในรูปที่ไม่แสดงสภาพ หรือรูปที่ไม่ใช่อดีต
เช่น

だれでも親の死を悲しむ。 
เป็นใครก็เศร้าที่พ่อแม่ตายทั้งนั้น

3.ถ้าเป็นคำกริยาที่แสดงอารมณ์ความรู้สึกที่มาจาก Adj.いstem +む ซึ่งเป็น Suffix
เช่น 悲しむ(เศร้า) なつかしむ(หวนคิดถึง) おしむ(เสียดาย) 楽しむ(สนุก เพลิดเพลิน)
สามารถเติมคำต่อท้าย~がる (ทำท่า แสดงอาการ) แทน ~むได้ดังนี้
悲しがる、なつがしがる、おしがる、楽しがる
เช่น

次郎は父の死を悲しがった。
จิโร่มีอาการโศกเศร้ากับการตายของบิดา

เป็นสำนวนที่บรรยายอาการตามที่เห็นมากกว่าแบบอื่นๆ เพราะคำกริยานุเคราะห์ ~がる (ทำท่า แสดงอาการ) นั้นหมายถึง การแสดงออกทางภายนอก




ปลื้มอ่ะ เข้าใจไปอีกนิดแล้ว ดีใจจัง

平成22年1月13日水曜日

การใช้ 「に」 กับ 「を」 (หนังสือเรียน๑)


หนังสือ "คำช่วยช่วยด้วย" (เล่มในรูปด้านล่าง)








ได้บอกถึงวิธีการใช้
に・を ไว้ว่า



คำช่วยช่วยด้วย หน้า๔๑-๔๕

๑ ใช้ชี้สถานที่ที่เป็นที่อยู่ มักใช้คู่กับกริยา ある いる 住む เป็นต้น

あそこに大きい木があります。

๒ ใช้ชี้สถานที่ที่เป็นจุดหมายปลายทางของการเคลื่อนที่

昨日公園に行きました。

๓ ใช้ชี้สถานที่ที่มีผลของการกระทำปรากฏอยู่

荷物は部屋に置きました。

๔ ใช้ชี้เวลาที่เกิดเหตุการณ์

毎日六時に起きます。

ใช้ชี้ผลของการเปลี่ยนแปลง หรือผลของการตัดสินใจ (อันนี้ชอบผิด เผลอใช้を)

田中さんを代表に決めました。

๖ ใช้ชี้จุดประสงค์ของการกระทำ

買い物に出かけます。

ใช้ชี้รายละเอียดเพิ่มเติมของกริยาหรือสภาพว่า มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องใด (อันนี้ก็ชอบใช้ผิดเหมือนกัน เหอะๆ)

お金に困ったいます。

山田先生は理学の研究に優れています。

中山さんは日本史に詳しいです。

昨日雨にぬれて風をひきました。

๘ ใช้ชี้กรรมรอง

友達にお菓子をあげます。

昨日平野さんに会いました。(ไม่ใช่ว่าการไปเจอใครใช้にเป็นการชี้เป้าหมายหรอกหรอ?)

๙ ใช้ชี้ผู้กระทำกริยาในประโยคถูกกระทำ

子供が母親にしかられました。

๑๐ ใช้ชี้เจ้าของความสามารถ (อันนี้คล้ายๆกับ にとって สำหรับ。。。รึป่าว?)

私にはそのような難しいことはわかりません。

私にはとても覚えられません。

私にできることがあったら言って下さい。

๑๑ ใช้ชี้เกณฑ์นการเปรียบเทียบ

私は母に似ています。

今年は去年に比べると雨が少ないです。

私の家は大学に近いです。

(การเปรียบเทียบในที่นี้รวมถึงระยะทางด้วยซินะ แต่น่าแปลกที่คำว่าไกลกลับใช้ว่าから遠い)

๑๒ใช้เชื่อมคำนามที่เป็นชุดเดียวกัน เช่น กาแฟกับขนมปัง เสื้อเชิร์ตกับกางเกงยีนส์ (อันนี้ไม่เคยใช้เลยแฮะ)

朝食はいつもパンにコーヒーと決めています。

彼はいつもジーパンにシャツといった楽な格好で出勤します。

๑๓ ใช้เชื่อมคำนามแต่ละตัวที่ผุดเรียงขึ้นมาในสมองตามลำดับ (อันนี้แปลก ไม่เคยใช้มาก่อน ปกติจะใช้แต่とเชื่อม)

今日休んだのは山田さんに山本さんに田村さんです。

あしたパーティーへ来るのはニヨムさんにピチットさんにウサーさんです。


คำช่วยช่วยด้วย หน้า๔๑


๑ ใช้ชี้กรรมตรงของสกรรมกริยา 友達に試験のことを聞きましたか。

๒ ใช้ชี้สถานที่ที่เคลื่อนที่ผ่าน このバスは大学の前を通りますか。

๓ ใช้ชี้สถานที่ที่ประธานเคลื่อนที่ออกมา いつも七時ごろ家を出ます。


(ก็ตามที่เคยเรียนมาก็เป็นแบบนี้อ่ะ)


สรุปแล้วเนี่ย รู้สึกว่าที่ใช้คำช่วยสองตัวนี้สับสนเป็นเพราะว่า ไม่เข้าใจขอบเขตการใช้คำช่วยに

ไม่รู้ว่าใช้แบบไหนบ้าง อย่างในข้อที่ขีดเป็นเหลืองๆเอาไว้นี่คือ งงว่ามีการใช้แบบนี้ด้วยหรอ

ไม่ก็ยังงงๆอยู่ ไม่ก็ยากแฮะชอบใช้ผิดสับสนทุกทีไป

。。。。。。。。。。。。。。。。。。。。。。。。。


ガウィ・キフト