平成21年12月3日木曜日

สังเกตการเรียนการสอนครั้งที่2

วันนี้เข้าไปดูในห้องที่อาจารย์คนไทยสอนบ้าง

หัวข้อคือ ~んですが、どうしたらいいですか。

  • อาจารย์ใช้วิธียกตัวอย่างขึ้นมาก่อนที่จะนำเข้าสู่ตัวเนื้อหาจริงๆ
เช่น

A: 新聞社に見学したいんですが、どうしたらいいですか。
B: 直接電話で申し込んだらいいですよ。
A: そうですか。どうも。

แล้วค่อยอธิบายความหมายและวิธีการใช้

  • มีการอธิบายความหมายของคำศัพท์ในหนังสือโดยยก例文ประกอบเพิ่มด้วย
  • นักเรียนค่อนข้างงงการเปลี่ยนรูปいただけませんかให้ต่อกับ~んですが、~
  • ก่อนจบคาบอาจารย์ก็ทวนเรื่องที่เรียนทั้งชั่วโมงเช็คความเข้่าใจ

ตอนที่นั่งฟังอยู่ก็เกิดข้อสงสัยขึ้นมาว่า
เวลาสอน文法เราควรจะสอนลึกไปแค่ไหน
ถึงจะทำให้นักเรียนไม่งง หรือไม่ควรจะพูดถึงเลย
รอให้ถึงเวลาที่จำเป็นต้องรู้ก่อน?

อย่างในกรณี~んですが、~
ควรจะสอนด้วยรึป่าวว่ามาจากคำว่า ~のですが、
แล้วพวก~のです คืออะไร ใช้ในบริบทไหนบ้าง

หรืออย่างกรณีที่ยกตัวอย่างประโยคของคำว่า並べる
ว่า一列タバコをならべる。
ต้องอธิบายรึป่าวว่าในประโยคนี้ทำไมถึงเป็นเป็นคำช่วยตัวอื่นไม่ได้
หรือถ้าเคยอธิบายแล้วจะต้องอธิบายทวนอีกทุกครั้งรึป่าว?





การสอนนี่ยากใช่เล่นนะเนี่ย!

ギフト・カウィ

1 件のコメント:

  1. เออ ยากจริงเธอ

    เราก็เคยเป็นเรื่องนี้อ่ะ แบบจะพูดบางเรื่องก็กลัวลึกไป

    เซนเซย์เราเคยบอกว่ายังไม่ต้องบอกหรอก เด๋วเด็กมันจะยิ่งงงอ่ะ

    เหอๆ

    返信削除